วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียน ครั้งที่3

 ครั้งที่ 3

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ 2563


ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเลือกหน่วยมากลุ่มละ 1 หน่วย และช่วยกันคิดและหาข้อมูลว่าโรงเรียนที่เราได้ไปออกฝึกสอนว่าในแต่ละเทอมสอนกี่หน่วยและมีหน่วยใดบ้างโดยเริ่มเขียนตั้งแต่เทอมที่ 1 ก่อนซึ่งหน่วยที่กลุ่มของดิฉันเลือกคือ หน่วย ฝน และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาเขียนแผนเคลื่อนไหวมาคนละ 1 แผน โดยเลือกว่ากิจกรรมที่เราสอนจะนำมาสอนได้ในวันไหนโดยให้ปรึกษากันในกลุ่ม


 ภาพบรรยากาศในชั้นเรียน


กิจกรรมที่ 1 ปฏิทินกิจกรรม










    อาจารย์ได้นำตัวอย่างการสอนของรุ่นพี่ที่ไปฝึกสอนที่โรงเรียนเกษมพิทยา หน่วยข้าวมาให้นักศึกษาได้ดูโดยมีเนื้อหาที่ใช้สอน ดังนี้

1.ลักษณะของต้นข้าว
2.วัฏจักรของต้นข้าว
3.การเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของข้าวแต่ละชนิด เช่น ข้าวไรซ์เบอร์รี่กับเหนียว ให้เด็กได้สัมพัสและลองชิมดู
4.ประโยชน์ของข้าว

กิจกรรมที่ 2 การเขียนแผนเคลื่อนไหวและจังหวะ และจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ






โดยกลุ่มที่ได้สอนแผนเคลื่อนไหวและจังหวะในวันนี้เป็นกลุ่มแรก คือ กลุ่มสัตว์น้ำ  โดยให้แต่ละคนออกมาสอนตามวันโดยเริ่มการเคลื่อนไหวและจังหวะ เรียงตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์ หลังจากที่เพื่อนสอนเคลื่อนไหวและจังหวะเสร็จแล้วอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อนำความรู้เหล่านี้มาปรับใช้ในการสอนแผนเคลื่อนไหวและจังหวะของตนเองต่อไป

ประเมินตนเอง

วันนี้ฉันตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังอาจารย์สอนเป็นอย่างดีทำให้ได้รู้ว่าการจัดประสบการณ์ในการสอนให้กับเด็กหน่วยข้าวที่ถูกต้องมีอะไรบ้างและฉันได้ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆในห้องเรียนเป็นอย่างดี และได้รู้วิธีการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆในห้องให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์

อาจารย์สอนดี อธิบายการสอน เข้าใจง่ายและอาจารย์ ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนเคลื่อนไหวของเพื่อนแต่ละคนได้ดีและอาจารย์ชี้แนะชัดเจนว่าควรเพิ่มเติมหรือปรับปรุงอะไรบ้างเกี่ยวกับแผนเคลื่อนไหวได้รู้วิธีการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง



วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

 ครั้งที่ 2

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ 2563



ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ได้ถามนักศึกษาว่าจากการที่ได้ออกฝึกปฏิบัติการนักศึกษาว่าการจัดการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนแบบใด มีความแตกต่างหรือคล้ายคลึงกันอย่างไรพร้อมกับสอดแทรกความรู้ ให้กับนักศึกษาในการออกปฏิบัติการสอนที่ถูกต้องและอาจารย์ได้สอนเพลงเก็บเด็กให้นักศึกษานำไปสอนเด็กๆทั้งหมด 2 เพลงนักศึกษาแบ่งกลุ่มกันตามโรงเรียนที่ได้ไปออกฝึกประสบการณ์ทำ My Mapping เกี่ยวกับกิจกรรมเคลื่อนไหว และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มละ 5 คน แล้วเตรียมวางแผนว่าจะสอนในหน่วยไหน แล้วนำเสนออาจารย์ เพื่อมาเขียนแผนในสัปดาห์หน้า

บรรยากาศในชั้นเรียน





 

 ประเมินตนเอง  

ฉันตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมร้องเพลงอย่างตั้งใจและรู้สึกสนุกสนานในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

  เพื่อนไปให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นอย่างดีและช่วยกันร้องเพลงอย่างสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์

  อาจารย์ได้นำเพลงมาสอนนักศึกษาทำให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลายและสนุกสนานในการทำกิจกรรมในห้องเรียน




บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

 ครั้งที่ 1 

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ 2563


ความรู้ที่ได้รับ

  วันนี้อาจารย์ได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายวิชานีว่าจะต้องเรียนอะไรบ้างในเทอมนี้และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปสร้างบล็อกมาคนละ 1 บล็อกและหาคว้าหางานวิจัย บทความ คลิปการสอน มาคนละอย่าง 1  อย่างโดยไม่ซ้ำกับเพื่อนในห้อง



คำศัพท์

1. Composition                  องค์ประกอบ            

2. Teaching format             รูปแบบการสอน

3. Teaching method            วิธีการสอน

4. learning                          การเรียนรู้

5. listening                          การฟัง


 ประเมินตนเอง 

  ฉันตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังอาจารย์ชี้แจงรายวิชาที่จะเรียนในเทอมนี้อย่างตั้งใจ

ประเมินเพื่อน

  เพื่อนตั้งใจเรียนกันทุกคนและให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์

  อาจารย์ได้ชี้แจงรายละเอียดของรายวิชาที่จะเรียนในเทอมนี้อย่างชัดเจนและอาจารย์ได้ชี้แจงงานที่จะต้องไปค้นหามาอย่างละเอียด ชัดเจน และเข้าใจง่าย




ตัวอย่างการสอน ปฐมวัยการใช้เทคโนโลยีการสอน

 ตัวอย่างการสอน


เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการเรียนการสอน อายุไม่ควรเป็นอุปสรรคในการเปิดรับ
เทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบ โปรแกรมนี้แสดงให้เห็นว่าห้องเรียนระดับชั้นอนุบาลได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาผนวก
เข้ากับการเรียนการสอนในทุกๆ ด้านให้กับเด็กในช่วงอายุ 3-4 ปีได้อย่างไร ศูนย์การศึกษาระดับชั้นอนุบาลเซาธ์ออลนำ
เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ด้วยการผนวกเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการเรียนการสอนทั้ง 6 แขนงในระดับพื้นฐาน แซลลี่ เดนนิส เจ้าหน้าที่ประสานงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่อีลลิง ได้ช่วยฝึกอบรมและคอยให้ความช่วยเหลือพนักงาน ทำใหพวกเขามีประสิทธิภาพในการทำงานและมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น โรซินา ไฮเดอร์ รานบีร์ จาสวาล และโรแชล เลสลีย์ ทำงานร่วมกับเด็กนักเรียนกลุ่มเล็กๆ เพื่อขยายขอบเขตของการเรียนรู้ ด้วยการใช้อุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับระดับพัฒนาการของเด็กเหล่านี้ วิธีการเรียนการสอนโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังต่อไปนี้ - ทำอาหารโดยใช้ไมโครเวฟ - ใช้เครื่องบันทึกเสียงในการบันทึกเพลง - ให้พ่อแม่ใช้กล้องดิจิตัลในการบันทึกภาพ - สังเกตดตัวหนอนโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ - ใช้เว็บแคมในการบันทึกภาพต่อเนื่อง
คำสำคัญ : แนวคิดการสอนปฐมวัย พัฒนาการเด็ก เรียนรู้ผ่านสัมผัสทั้งห้า ความกระตือรือร้นในการเรียน เทคโนโลยี
การใช้กล้องถ่ายรูป การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ทักษะทางคณิตศาสตร์ ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม การเรียนรู้อย่างมีความหมาย ทักษะทางภาษา ทักษะการพูด นักเรียนต่างชาติ เพลง การใช้เครื่องอัดเทป นิทาน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน พัฒนาทักษะทางอารมณ์-สังคม การเคลื่อนไหว ปฏสัมพันธ์กับผู้อื่น เทคนิคการสอน บทบาทครูอนุบาล กระดานอัจฉริยะ คอมพิวเตอร์ การใช้กล้องจุลทรรศน์

บทความ แนวการสอนแบบไฮโซโคป


บทความ


 แนวการสอนแบบไฮสโคป  (High / Scope)


   แนวทางการสอนแบบไฮสโคป เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบกิจกรรมสร้างสรรค์ การเรียนรู้และพัฒนาคนมีการสอนแบบการคิดเชื่อมโยง ความรู้อย่างรวดเร็วการจัดการเรียนเป็นการจัดการศึกษางรวดเดูแลเด็กและเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ ลักษณะกาลักษณะการจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเด็กโดยเฉพาะ 

ความเป็นมา

   การเรียนการสอนแบบไฮสโคป แนวคิดการจัดการศึกษาพัฒนามาจากโครงการ (Perry Preschool Project) เมืองยิปซีแลนติ รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ 1960 โดย เดวิด ไวคาร์ด ( Devid Weikart ) และคณะ จัดโปรแกรมการการศึกษาที่มีหลักสูตรและการสอนที่เน้นการเรียนรู้โดยใช้หลักการสร้างความรู้ จากการลงมือทำ มีการร่วมการคิดร่วมการทำตามแผนกำหนดให้สำเร็จ ซึ่งต่อมาได้มีคนนำรูปแบบการสอนนี้มาใช้กันอย่างแพร่หลาย มากยิ่งขึ้นเพื่อมาจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กรวมไปถึงการนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮสโคปมาใช้กับเด็กปฐมวัยอีกด้วย

แนวคิดพื้นฐาน

   แนวคิดการเรียนการสอนแบบไฮสโคปมีแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage's Theory ) ว่าด้วยพัฒนาการทางสติปัญญา ที่เน้นกาที่เน้นการเรียนรู้จากการลงปฏิบัติโดยฝึกให้เด็กสร้างความรู้ โดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์ความรู้ เด็กเรียนรู้จากการลงมือทำ เด็กสามารถสร้างความรู้จากประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มา ซึ่งแนวคิดนี้เด็กสามารถเลือกเรียนและปฏิบัติได้ด้วยตนเอง และรู้จักการประเมินตนเองโดยคุณครูเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการคิดและเเก้ไขปัญหาโดยการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย โดยครูคอโดยครูคอยให้กำลังใจเด็กๆและสนับสนุนและเพิ่มเติมความรู้ให้กับเด็ก

การเรียนการสอน

   การเรียนการสอนแบบไฮสโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติ โดยครูเป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์การสอนให้กับเด็กและตุ้นพัฒนาการให้กับเด็ก โดยใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ ดังนี้

1.การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีการสนทนาระหว่างครูกับเด็กว่าจะทำอะไร  อย่างไรให้เด็กได้ฝึกกระบวนการคิดและตัดสินใจ

2. การปฏิบัติ (Do) เป็นการลงมือกระทำตามแผนที่ได้วางเอาไว้ ให้เด็กได้ร่วมกันคิด และตัดสินใจ รวมถึงฝึกกระบวนการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองร่วมกับเพื่อน

3. การทบทวน (Review) เป็นช่วงที่อภิปรายและเล่าเกี่ยวกับผลงานพร้อมกับทบทวนกสามารถละเล่าเกี่ยวกับผลงานพร้อมกับทบทวนว่าเด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่ได้กำหนดไว้ ได้หรือไม่ 

  การที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสนใจของเด็กทำให้เด็กสนุกกับงาน และทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบนับเป็นความสำเร็จที่ได้เห็นเด็กๆได้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


https://sites.google.com/site/learningdiscoverytoyou/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-1/naew-kar-sxn-baeb-hi-skhop

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563

วิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย


สรุปวิจัย

หัวข้อวิจัย : การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย 

ผู้วิจัย : นางสาว สุดา กูเล็ม

      วิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนหลังการเข้ารับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก โดยวิจัยและพัฒนา การหาประสิทธิผลของการการจัดรูปแบบประสบการณ์การเรียนรู้ ดำเนินตามแบบแผนการวิจัยแบบแผนการกึ่งทดลอง ก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองสตูล จำนวน 1 ห้องเรียนได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม มีทั้งหมด 25 คน มีการจัดกิจกรรมเป็น 5 กลุ่ม เป็นนักเรียนที่คละความสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ 18 ครั้งผลพบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลักสูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบใช้ปัญญาเป็นหลักเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพ 83.20/82.60 ผ่านเกณ์ที่กำหนด

file:///C:/Users/com/Downloads/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%B2%20%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%A1%2000184073.pdf

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

  ครั้งที่ 13 วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ 2563 ความรู้ที่ได้รับ   วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนในรายวิชานี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาสอบข้อเข...