วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บทความ แนวการสอนแบบไฮโซโคป


บทความ


 แนวการสอนแบบไฮสโคป  (High / Scope)


   แนวทางการสอนแบบไฮสโคป เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบกิจกรรมสร้างสรรค์ การเรียนรู้และพัฒนาคนมีการสอนแบบการคิดเชื่อมโยง ความรู้อย่างรวดเร็วการจัดการเรียนเป็นการจัดการศึกษางรวดเดูแลเด็กและเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ ลักษณะกาลักษณะการจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเด็กโดยเฉพาะ 

ความเป็นมา

   การเรียนการสอนแบบไฮสโคป แนวคิดการจัดการศึกษาพัฒนามาจากโครงการ (Perry Preschool Project) เมืองยิปซีแลนติ รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ 1960 โดย เดวิด ไวคาร์ด ( Devid Weikart ) และคณะ จัดโปรแกรมการการศึกษาที่มีหลักสูตรและการสอนที่เน้นการเรียนรู้โดยใช้หลักการสร้างความรู้ จากการลงมือทำ มีการร่วมการคิดร่วมการทำตามแผนกำหนดให้สำเร็จ ซึ่งต่อมาได้มีคนนำรูปแบบการสอนนี้มาใช้กันอย่างแพร่หลาย มากยิ่งขึ้นเพื่อมาจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กรวมไปถึงการนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮสโคปมาใช้กับเด็กปฐมวัยอีกด้วย

แนวคิดพื้นฐาน

   แนวคิดการเรียนการสอนแบบไฮสโคปมีแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage's Theory ) ว่าด้วยพัฒนาการทางสติปัญญา ที่เน้นกาที่เน้นการเรียนรู้จากการลงปฏิบัติโดยฝึกให้เด็กสร้างความรู้ โดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์ความรู้ เด็กเรียนรู้จากการลงมือทำ เด็กสามารถสร้างความรู้จากประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มา ซึ่งแนวคิดนี้เด็กสามารถเลือกเรียนและปฏิบัติได้ด้วยตนเอง และรู้จักการประเมินตนเองโดยคุณครูเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการคิดและเเก้ไขปัญหาโดยการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย โดยครูคอโดยครูคอยให้กำลังใจเด็กๆและสนับสนุนและเพิ่มเติมความรู้ให้กับเด็ก

การเรียนการสอน

   การเรียนการสอนแบบไฮสโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติ โดยครูเป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์การสอนให้กับเด็กและตุ้นพัฒนาการให้กับเด็ก โดยใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ ดังนี้

1.การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีการสนทนาระหว่างครูกับเด็กว่าจะทำอะไร  อย่างไรให้เด็กได้ฝึกกระบวนการคิดและตัดสินใจ

2. การปฏิบัติ (Do) เป็นการลงมือกระทำตามแผนที่ได้วางเอาไว้ ให้เด็กได้ร่วมกันคิด และตัดสินใจ รวมถึงฝึกกระบวนการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองร่วมกับเพื่อน

3. การทบทวน (Review) เป็นช่วงที่อภิปรายและเล่าเกี่ยวกับผลงานพร้อมกับทบทวนกสามารถละเล่าเกี่ยวกับผลงานพร้อมกับทบทวนว่าเด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่ได้กำหนดไว้ ได้หรือไม่ 

  การที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสนใจของเด็กทำให้เด็กสนุกกับงาน และทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบนับเป็นความสำเร็จที่ได้เห็นเด็กๆได้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


https://sites.google.com/site/learningdiscoverytoyou/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-1/naew-kar-sxn-baeb-hi-skhop

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

  ครั้งที่ 13 วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ 2563 ความรู้ที่ได้รับ   วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนในรายวิชานี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาสอบข้อเข...